
1. แบบที่ 1 เกิดจากลมในไส้(ในระบบทางเดินอาหาร) ทำให้มีอาการท้องอืด เฟ้อ เรอ เหม็นเปรี้ยวตามลำดับ บางรายอาจมีแสบร้อนคอ/อก ร่วมด้วย
2. แบบที่ 2 เกิดจากลมนอกไส้(ในท้อง) ทำให้มีอาการท้องอืด แน่นหน้าอก จุกคอ กลืนลำบาก มึนเวียนศีรษะ ตามลำดับ
ซึ่งทั้ง 2 แบบเป็นอาการที่เกิดจากลมเป็นสาเหตุ ทั้งนี้ลมจะเคลื่อนได้จะต้องอาศัยพลังงานหรือไฟในการขับเคลื่อน ซึ่งหากธาตุไฟหย่อนหรือน้อย จะทำให้ลมไม่เคลื่อน เกิดอาการท้องอืด แต่จะไม่ดันขึ้นข้างบน เพราะฉะนั้นควรรักษาโดยการเพิ่มธาตุไฟ จุดไฟย่อย โดยวางยารสร้อนเพื่อไปช่วยกระจายลมที่ค้างอยู่มากในท้อง เพียงเท่านี้อาการท้องอืดก็จะดีขึ้น
ในทางกลับกันหากธาตุไฟกำเริบหรือมากเกิน จะทำให้เกิดเป็นลมร้อนพัดตีขึ้นข้างบน ทำให้เกิดอาการ “เฟ้อ” หรือ “แน่นหน้าอก” เมื่อลมร้อนมากขึ้นจะเรื่อยๆ ร่างกายจะหาช่องทางระบายออกโดยจะทำให้เรา “เรอ” ออกมาบ่อยๆ หรือหากเกิดจากลมนอกไส้จะมีอาการ “จุกคอ กลืนลำบาก” ซึ่งถือว่าอันตรายมาก
นานวันเข้าลมร้อนจะพัดเอาน้ำย่อยหรือน้ำดีตีขึ้นมาด้วย เกิดอาการเรอเหม็นเปรี้ยว หรือมีน้ำย่อยออกทางปาก กลิ่นออกจมูก กรณีเกิดจากลมในไส้ และจะมีลมตีขึ้นไปบนศีรษะ ทำให้เกิดอาการมึนงงวิงเวียนศีรษะ กรณีเกิดจากลมนอกไส้
โดยการรักษาเหตุจากลมร้อนหรือไฟมากเราจะมีวิธีรักษาดังนี้
– กรณี ท้องอืด ท้องเฟ้อแต่ไม่เรอ ให้ใช้การวางยารสร้อนช่วยย่อยเพื่อกระจายลมที่อัดอั้นอยู่ก็ โดยทานยาหลังอาหารทันทีเพื่อช่วยย่อย

– กรณีท้องอืด เฟ้อ เรอทั้งเหม็นเปรี้ยว หรือไม่เหม็นเปรี้ยว ให้ใช้ยารสเย็น เพื่อลดความร้อนในร่างกายที่มาก โดยทานช่วง 10.00 น., 12.00 น., 14.00 น.และใช้ยาหอมรสร้อน เพื่อช่วยย่อยกินหลังอาหารทันที

และอาจทำการพอกยาเย็นส่วนบนหรือใช้ยาแก้ปวดเมื่อย เพื่อช่วยดึงลมลงล่าง หรือทำการหัตถการใช้ทางร้อน เช่น การเผายา, การประคบร้อน, การย่างยา, การอบร้อน เป็นต้น
ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ไฟหย่อนหรือน้อย จนทำให้เกิดอาการทางลมดังกล่าว

Leave a Reply